วันอังคาร ที่ 24 มิ.ย. 2568
การจัดทำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ของกรุงเทพมหานคร(กทม.)เพื่อใช้แทนผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับปัจจุบัน(ปี2556) ที่ใช้มากว่า 10 ปีและมีความล้าสมัยไม่ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรัฐ โครงข่ายรถไฟฟ้า การพัฒนาของภาคเอกชน
ที่ผ่านมากทม.มีหมุดหมายที่จะประกาศใช้ให้ทันอย่างเร็วภายในปี2563 อย่างช้าปี 2564 แต่เนื่องจากต้องนับหนึ่งใหม่หลังพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การผังเมืองฉบับใหม่มีผลใช้ปี2562 ผลกระทบการแพร่ระบาดโควิด-19
ประกอบกับการร้องเรียนของภาคสังคมประชาชน เป็นวงกว้างโดยเฉพาะเรื่องของโครงข่ายถนนในร่างผังเมืองรวมกทม. และมีเป้าหมายประกาศใช้ปี 2569 แต่ล่าสุดต้องเลื่อนออกไป เป็นปี 2570 เพราะต้องมีการปรับแก้อีกหลายประเด็น
ในที่สุด กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ให้คำแนะนำกับกทม.ว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนแก้ไขไปจากเดิมมากนักเพราะก่อนหน้านี้ ได้แก้ไขไปมากพอสมควรและยังต้องผ่านอีกหลายขั้นตอนกว่าจะประกาศใช้ ในทางกลับกันความล่าช้าของการประกาศใช้ผังเมืองรวมฉบับใหม่ และเลื่อนไปในปี 2570 นับเป็นผลดี เนื่องจาก
ขณะนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ตกอยู่ในช่วงชะลอตัว หลายปัจจัยซํ้าเติมทั้งเหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อวันที่28มีนาคม 2568 ความผันผวนของเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลก สงครามการค้า กำแพงภาษีสหรัฐอเมริกา
ทำเลทองผังเมืองกทม.ใหม่
ฉุดการค้าการส่งออกหดตัว กำลังซื้อในประเทศ หายไปจากตลาด จากหนี้ครัวเรือน สถาบันการเงินเข้มงวดสินเชื่อ กำลังซื้อต่างชาติลดลงและนำมาซึ่งสต๊อกที่อยู่อาศัยเหลือขายจำนวนมาก ไม่ตํ่ากว่า 2 แสนหน่วย 1.3ล้านล้านบาทในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
ต้องรอระบายสินค้าออกต้องใช้เวลานาน ไม่ตํ่ากว่า 48เดือนตามการวิจัยของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และปีนี้ประเมินว่าจะมีปริมาณจำนวนหน่วยเหลือขายสะสม อีกจำนวนมาก