📍4 สาเหตุของภาวะที่ทำให้ “เหนื่อย หายใจไม่ทัน”

เน้นชัดๆ แต่ละภาวะทำให้เหนื่อยได้ยังไง


.


__________________________


.


1️⃣ เหนื่อยเวลาเครียด/กังวล มือจีบ


🔑 ภาวะหายใจเกิน (Hyperventilation syndrome)


เมื่อเครียด ร่างกายจะกระตุ้นระบบตอบสนองความเครียด

⮕ หายใจเร็วขึ้น, หัวใจเต้นเร็วขึ้น


แต่ในบางคน อาจมีพฤติกรรมเร่งหายใจเองโดยไม่รู้ตัว

ร่วมกับมีการรับรู้การเปลี่ยนแปลงของร่างกายมากไป

(Awareness of interoception)

⮕ หายใจถี่ขึ้น

⮕ สมองส่วน insula รับรู้หายใจถี่ขึ้นมาก

⮕ รู้สึกว่าหายใจไม่ทัน

⮕ Amygdala สร้างความกลัวจากความรู้สึกนี้

⮕ ส่งสัญญาณให้สมอง PAG เปิดโหมดกระวนกระวาย

⮕ ยิ่งรู้สึกว่าหายใจไม่ทัน และอันตราย

⮕ ยิ่งต้องหายใจถี่ขึ้น และต้องควบคุมมัน

*เกิดวนไป คล้าย loop ของอาการ panic*


ผลจากการหายใจถี่+ลึกเกินไป

⮕ ปอดขับ CO2 ออกมากไป

⮕ เนื่องจาก CO2 เป็นกรด ดังนั้นเลือดจึงเป็นด่าง

⮕ โปรตีนไข่ขาวพยายามปล่อยกรดช่วย

⮕ แต่ยิ่งปล่อยก็ยิ่งเหลือที่ให้แคลเซียมมาจับ

⮕ แคลเซียมอิสระในเลือดต่ำลง

⮕ การทำงานเซลล์ประสาทผิดปกติ ไวต่อการกระตุ้น

⮕ กล้ามเนื้อมือหดเอง จนมือจีบ


.


🛎️ หากมีอาการครั้งแรก ยังไม่รู้สาเหตุของโรค พบแพทย์เพื่อตรวจก่อนเสมอ

🛎️ เบี่ยงเบนความสนใจ (มีคนชวนคุย) + ฝึกหายใจ breathing technique ด้วยได้มาก


.


__________________________


.


2️⃣ เหนื่อย หายใจมีเสียงวี๊ด


🔑 โรคหืด (Asthma)


ร่างกายมีการจดจำ “ตัวกระตุ้น” บางอย่าง เช่น

✔️ระบบภูมิคุ้มกัน - T helper cell (Th2) และ แอนติบอดี (IgE) - จดจำสารบางชนิด เช่น ละอองเกสรดอกไม้, สารระเหยบางชนิด ฯลฯ

✔️ เซลล์ mast cell ไวต่อ ‘ความแห้ง’ ของการเดินหายใจ ซึ่งมักเจอรุนแรงตอนหายใจไวตอนออกกำลังกาย (Exercise induced asthma)


⚙️ผลที่เกิดขึ้นคือ

⮕ เม็ดเลือดขาว mast cell ที่ผนังหลอดลมจิ๋ว ปลดปล่อยสารมากมาย เช่น Leukotriene, PAF

⮕ กระตุ้นให้กล้ามเนื้อเรียบรอบหลอดลมหดตัว

⮕ หลอดลมตีบแคบ (Bronchoconstriction)

⮕ อากาศไหลเข้าถุงลมได้น้อยลง + เสียงวี๊ด

⮕ ร่างกายได้ออกซิเจนลดลง

⮕ สมองพยายามกระตุ้นการหายใจมากขึ้น ถี่ขึ้น

⮕ หอบเหนื่อย


.


🛎️ หลายครั้งมีแค่อาการเหนื่อยเท่านั้น ถ้ามันรุนแรง ให้รีบมาพบแพทย์

🛎️ ต้องคุมด้วยยาพ่นที่มีทั้งขยายหลอดลมและสเตียรอยด์ เพื่อกดภูมิไม่ให้รุนแรงต่อหลอดลมเกินไป และตรวจติดตามกับแพทย์สม่ำเสมอ


.


__________________________


.


3️⃣ เหนื่อย ซีด ใจสั่น


🔑 ภาวะโลหิตจาง (Anemia)


⚙️มีจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยลง

⮕ ขนส่งออกซิเจนได้น้อย

⮕ เซนเซอร์ออกซิเจนตรวจวัดได้

⮕ เพิ่มการหายใจ

⮕ หายใจหอบเหนื่อย


ผลอื่นๆ

▪️ซีด เพราะมีจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อย

▪️ใจสั่น เพราะมีการกระตุ้นหัวใจให้เต้นถี่ขึ้น เพราะขนส่งได้น้อย จึงต้องเพิ่มรอบ


📍โลหิตจางที่เป็นมาเรื้อรัง อาจไม่มีอาการเหนื่อยชัดเจน เพราะร่างกายปรับตัวได้ แต่จะมีปัญหาตอนออกแรง พบว่าเหนื่อยง่าย, ใจสั่น แต่ถ้ามีการลดลงของเม็ดเลือดแดงเฉียบพลัน อาจทำให้มีอาการได้


สาเหตุโลหิตจางมีมากมาย

▪️ขาดธาตุเหล็ก, วิตามินบี12, โฟเลต

▪️โรคทาลัสซีเมีย (แต่พาหะ มักไม่มีอาการนี้)

▪️โรคพร่องเอนไซม์ G6PD

▪️โรคไตเสื่อมเรื้อรัง

▪️ภาวะไขกระดูกโดนกด

ฯลฯ


.


🛎️ หากมีซีด ให้ไปตรวจยืนยันโดยแพทย์ การรักษาต้องรักษาไปตามต้นเหตุเท่านั้น ซึ่งรักษา “ไม่เหมือนกันเลย”


.


__________________________


.


4️⃣ เหนื่อยเมื่อนอนราบ


🔑 ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure)


ภาวะปกติ

⮕ เลือดที่ใช้แล้ว เข้าหัวใจซีกขวา

⮕ ส่งไปปอดเพื่อฟอก

⮕ เข้าหัวใจซีกซ้าย

⮕ สูบฉีดไปเลี้ยงอวัยวะ


*ถ้าหัวใจทำงานปกติ จะไม่มีการจราจรติดขัด


📍หัวใจล้มเหลวคือ ภาวะที่หัวใจสูบฉีดเลือดออกน้อยลงมากจน

▪️อวัยวะต่างๆ ได้เลือดน้อย เกิดอาการต่างๆ

▪️ต้นทางเลือดคั่ง ถ้าซีกซ้ายล้มเหลว จะคั่งที่ปอดจนน้ำท่วมปอด ถ้าซีกขวาล้มเหลว จะคั่งอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับโต ขาบวม


⚙️คนที่เป็นหัวใจซีกซ้ายล้มเหลว

⮕ นอนราบ

⮕ แรงโน้มถ่วงกระทำต่อขาลดลง

⮕ เลือดกลับสู่หัวใจดีขึ้น

⮕ ปอดได้รับเลือดมากขึ้น แต่ยังมีปัญหาระบายไปหัวใจซีกซ้ายไม่ได้

⮕ คั่งจนสารน้ำรั่วเข้าถุงลม ขัดขวางการแลกเปลี่ยนแก๊ส

⮕ ร่างกายได้ออกซิเจนลดลง

⮕ สมองพยายามกระตุ้นการหายใจมากขึ้น ถี่ขึ้น

⮕ หอบเหนื่อย

*น้ำที่คั่งที่ผนังถุงลม สามารถกระตุ้นตัวรับเชิงกล (J-receptor) ทำให้เหนื่อยได้เลย


.


🛎️ ตรวจยืนยันโดยแพทย์ ภาวะนี้ต้องระวังน้ำเกิน มีการจำกัดน้ำจำกัดเกลือเป๊ะๆ พร้อมกับกินยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ดูแลอย่างใกล้ชิด


Cr:Tensia